วันพฤหัสบดีที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑

อบรมสัมมนาโครงการประชุมวิชาการ"เครือข่ายการวิจัยทางการศึกษา"ระดับจังหวัดราชบุรี

เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2550 ดิฉันพร้อมด้วยคณะครูโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ บูรณวิทยาอีกจำนวน 10 คน ได้ไปเข้ารับอบรมสัมมนาการนำเสนอผลงานวิจัยดี มีคุณภาพตามโครงการการประชุม
วิชาการ"เครือข่ายการวิจัยทางการศึกษา" ระดับจังหวัดของจังหวัดราชบุรี ณ อาคารสำนักผู้ตรวจราชการประจำเขตตรวจราชการที่ 6 อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี สรุปผลการอบรมสัมมนาโดยย่อได้ดังนี้
> การศึกษาผลการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนบ้านหนองปรือ ปีการศึกษา 2549 โดยใช้รูปแบบการบริหารคุณภาพที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน (QM MODEL) โดยนางนิตยา ทองประเสริฐ
> การศึกษาการดำเนินการและปัญหาการดำเนินการในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตามแนวทางปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ดี และมีความสุข ของโรงเรียนปากท่อพิทยาคม จังหวัดราชบุรี โดย
นายรัตน์ชัย ศรสุวรรณ
> ความร่วมมือของเครือข่ายโรงเรียนในการใช้ป่าชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้อย่างยั่งยืน เพื่อจัดการเรียนการ
สอนแก่เด็กปฐมวัย โดยนางสาวปณิตา ศิลารักษ์
> การเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับแอนนิเมชั่น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดย
นายเอกชัย บุญมีพิพิธ
> การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิตและชีวิตพืช ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนแคทรายวิทยา โดยนางจูรี่ จินณวัฒน์
> การพัฒนาสื่อการสอนอิเล็กทรอไลเซอร์ เพื่อการเรียนการสอนวิชาเคมี โดยนายคม พิริยวุฒิกรอุดม
> การเปรียบเทียบพัฒนาการความสามารถในการทำโครงงานก่อนและหลังเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาการทำโครงงานภาษาไทย โดยนางชนัญญา ลักษณะวีระ
> การพัฒนาการอ่านและการเขียนของนักเรียนด้วยการใช้สัทอักษรชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดย
นางจินตอาภา ผลบุณยรักษ์
> การพัฒนาการเขียนคำด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอนุบาลบางแพ โดยนางสาวประทุม นาคนงค์
> การพัฒนาแบบฝึกสะกดคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด สาระการเรียนรู้ภาษไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
โรงเรียนประชาพัฒนาวิทย์ โดยนางสาวหทัยรัตน์ อันดึ
> การพัฒนาการเรียนรู้การบวกและลบเลขจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100,000 ของเด็กพิเศษเรียนร่วม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยนายสุเทพ เกิดผล

วันพุธที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑

ร่วมกิจกรรมตักบาตรวันขึ้นปีใหม่2551








เมื่อวันที่28ธันวาคม255oโรงเรียนได้จัดครูและนักเรียนจำนวนหนึ่ง ร่วมพิธีตักบาตรและร่วมฟังโอวาทจากผู้บัญชาการกองพล และเจ้ากรมการทหารช่างณ สนามกีฬากลาง ศูนย์กีฬากรมการทหารช่าง ภายในค่ายบุรฉัตร

การอบรมหลักสูตร"วิทยากรการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี"











เมื่อวันที่ 24-27 ธันวาคม 2550 ครูของโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ บูรณวิทยา จำนวน 3 คนได้แก่ ครูบุญสม อะละมาลา ครูนิคม เรืองกูล และครูรัชนี ค่ายหนองสวง ได้เข้ารับการอบรมหลักสูตรวิทยากรการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี ณ โรงแรม เอส ดี อเวนิว กรุงเทพฯ จัดโดย สำนักสันติและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า ร่วมกับ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา มีวิทยากรผู้ให้การอบรมได้แก่ ศาสตราจารย์นายแพทย์ วันชัย วัฒนศัพท์ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาลสถาบันพระปกเกล้า ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรรณระพี สุทธิวรรณ ผู้อำนวยการหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายนพพร โพธิรังสิยากร ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ อาจารย์รัตนาภรณ์ วัฒนศัพท์ ผู้อำนวยการโรงเรียนขอนแก่นวิเทศศึกษา และ อาจารย์นุชนารถ วัฒนศัพท์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น




ในพิธีปิดการอบรมได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร. วรากรณ์ สามโกเศศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มอบเกียรติบัตรให้แก่ผู้ผ่านการอบรมและกล่าวปิดการอบรมตาม โครงการเสริมสร้างสันติวัฒนธรรมในโรงเรียนและพัฒนาศักยภาพบุคลากรในสถานศึกษา

วันอาทิตย์ที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

อบรมหลักสูตรการเจรจาไกล่เกลี่ย







ระหว่างวันที่ 11-14ธ.ค 2550 ดิฉันได้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรนักเจรจาไกล่เกลี่ยซึ่งเป็น หลักสูตรที่2 ของโครงการเสริมสร้างสันติวัฒนธรรมในโรงเรียนและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในสถานศึกษา มีครูและผู้บริหารจำนวน50คนจาก18สถานศึกษาทั่วประเทศ (ซึ่งเป็นบุคคลคนเดียวที่ผ่านการอบรมในหลักสูตรที่1)โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ บูรณวิทยา ส่งครูเข้ารับการอบรมจำนวน3คนได้แก่จ.ส.อบุญสม อะละมาลา จ.ส.อนิคม เรืองกูล และ นางรัชนี ค่ายหนองสวง ณ โรงแรมเอส.ดี.อเวนิว กรุงเทพ จัดโดยสำนักสันติและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้าร่วมกับ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา โดยมี ดร. จิราพรรณ บุญเกษมผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ เป็นประธานในพิธีเปิด ต่อจากนั้น มีการบรรยายหัวข้อต่างๆ และการฝึกปฏิบัติจริงดังนี้คือ
* การทบทวนองค์ความรู้ด้านการจัดการความขัดแย้งในสถานศึกษา โดย ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์
* การเจรจาไกล่เกลี่ยในสถานศึกษา กรณีศึกษา โรงเรียนพนมสารคาม (พนมอดุลย์วิทยา)จ.ฉะเชิงเทรา โดย อ.มานิต คงเจริญ
* ทักษะการเจรจาไกล่เกลี่ย โดย ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์
* การไกล่เกลี่ยคนกลาง โดย นายนพพร โพธิรังสิยากร* ขั้นตอนการเจรจาไกล่เกลี่ย โดย นายโชติช่วง ทัพวงศ์
* การฝึกเจรจาไกล่เกลี่ย โดย นายโชติช่วง ทัพวงศ์
* ทักษะในการเจรจาไกล่เกลี่ย โดย ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์และทีมวิทยากร
-การพูด การฟัง การถาม
-การประเมินปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาไกล่เกลี่ย
-แบบฝึกหัดประเมินจุดยืน จุดสนใจ
* การเตรียมตัวเพื่อเจรจาไกล่เกลี่ย โดย ศ. นพ.วันชัย วัฒนศัพท์
* กระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ย โดย ศ. นพ. วันชัย วัฒนศัพท์
* การฝึกปฏิบัติการเจรจาไกล่เกลี่ย (ผู้เข้ารับการอบรมแบ่งกลุ่มเล่นบทบาทสมมุติ)
* บันทึกเทปการเจรจาไกล่เกลี่ย
* การนำเสนอเทปการเจรจาไกล่เกลี่ย
* ประเมินผล โดยศ.นพ. วันชัย วัฒนศัพท์ ,นายนพพร โพธิรังสิยากร , นายโชติช่วง ทัพวงศ์
* สรุปการอบรมและปิดการอบรม โดย ศ. นพ. วันชัย วัฒนศัพท์, นายนพพร โพธิรังสิยากร,นายโชติช่วง ทัพวงศ์




วันพุธที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

ตรวจขั้นที่5








เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2550 ผู้กำกับลูกเสือของโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ บูรณวิทยา จำนวน 8 คน ได้แก่ คุณครูวิชัย ทรัพย์ประเสริฐ, คุณครูรุ่งชัยขาวจุ้ย, คุณครูรัชนี ค่ายหนองสวง, คุณครูสุกิณตนากรุงศรีเมือง, คุณครูชมพูนุช กาบสุวรรณ, คุณครูระวีวรรณ พิมพ์รุน, คุณครูสิริภัทร เกษมวงศ์ และ
คุณครูกนกพร ไร่นาดี ได้เข้ารับการตรวจขั้นที่ 5 (ขั้นปฏิบัติการและประเมินผล) โดยมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ จำนวน 2 ท่านได้แก่ อาจารย์วีระ ฉายขจร และอาจารย์ทันทิตย์ ชอบธรรม เป็นผู้ประเมิน

วันจันทร์ที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐

การอบรมหลักสูตรแนวคิดพื้นฐานการจัดการความขัดแย้งในสถานศึกษา
















ในระหว่างวันที่ 18-20 พ.ย 2550 ดิฉันได้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรแนวคิดพื้นฐานการจัดการความขัดแย้งในสถานศึกษา ซึ่งเป็น หลักสูตรที่1 ของโครงการเสริมสร้างสันติวัฒนธรรมในโรงเรียนและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในสถานศึกษา มีครูและผู้บริหารจำนวน50คนจาก18สถานศึกษาทั่วประเทศ (คัดจาก80สถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ)โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ บูรณวิทยา ส่งครูเข้ารับการอบรมจำนวน3คนได้แก่จ.ส.อบุญสม อะละมาลา จ.ส.อนิคม เรืองกูล และ นางรัชนี ค่ายหนองสวง ณ โรงแรมบางกอก กอล์ฟ สปา รีสอร์ท จ.ปทุมธานี จัดโดยสำนักสันติและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้าร่วมกับ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา โดยมี ดร. อำรุ่ง จันทวนิชเป็นประธานในพิธีเปิด ต่อจากนั้น มีการบรรยายหัวข้อต่างๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่
* ความหมาย ความสำคัญของ การจัดการความขัดแย้งในสถานศึกษา โดย ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์
* กิจกรรมความคาดหวังและความกลัว โดย ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์
* การวิเคราะห์ปัญหา สาเหตุของความขัดแย้งในสถานศึกษา โดย ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์
* การจัดการความขัดแย้ง และความรุนแรงในสถานศึกษา โดย อ.รัตนาภรณ์ วัฒนศัพท์
* กระบวนการแก้ปัญหาความขัดแย้งในสถานศึกษา โดย ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์
* รูปแบบต่างๆของการจัดการความขัดแย้ง โดย ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์
* เครื่องมือในการช่วยให้เกิดความเข้าใจที่ดี โดย ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์
* การเจรจาไกล่เกลี่ย และกระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ย โดย ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์
และการเสวนาเรื่อง รัฐมนตรีในฝัน โดย ผู้เข้ารับการอบรมทั้งหมด
จากการฟังการบรรยาย การจัดการความขัดแย้ง และความรุนแรงในสถานศึกษา ดิฉันมีความเห็นด้วยว่า ครู และผู้ปกครองจำเป็นต้องเข้าใจปัญหา และแนวทางแก้ไข การใช้แนวคิดในเชิงบวก การใช้การแก้ปัญหาโดยให้นักเรียนมีส่วนร่วม ตลอดจนการแก้ปัญหาโดยไม่ใช้ความรุนแรง เช่น การไม่ลงโทษโดยการตีนั้นน่าจะเป็นวิถีทางที่เหมาะสมกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การฝึกให้เด็กได้รู้จักที่จะเจรจาไกล่เกลี่ยกันเองทำให้โรงเรียนนั้นๆเกิดวัฒนธรรมการแก้ปัญหากันเองจนกลายเป็นสันติวัฒนธรรมขึ้น น่าจะช่วยให้เกิดสังคมที่สันติสุข และเกิดสันติภาพได้ในที่สุดหรือแม้แต่ในองค์กรของเราเองถ้าบุคลากรคิดในเชิงบวก ก็น่าจะทำให้เกิด สันติสุข และเกิดสันติภาพในองค์กรได้เช่นเดียวกัน




สันติวัฒนธรรมคืออะไร
สันติวัฒนธรรมคือแบบแผนประเพณีหรือวิถีชีวิตที่ปฏิเสธความรุนแรง แต่เน้นความเอื้ออาทรความเสมอภาคเท่าเทียมกัน และตระหนักถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์
สันติสุข/สันติภาพคืออะไร
คือภาวะที่ปราศจากความรุนแรงทั้งทางกายภาพ ทางวาจา ทางโครงสร้างและทางวัฒนธรรม รวมทั้งสภาวะที่ผู้คนในสังคมปลอดพ้นจากความหวาดกลัว มีความเอื้ออาทรต่อกัน ร่วมมือกัน มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และมีความเชื่อมโยงกันทางจิตใจ ซึ่งทั้งหมดนี้ได้ประกอบเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการจัดการกับความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ในสังคม

วันอังคารที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐

การอบรมทฤษฎีจิตปัญญาเพื่อพัฒนาสมอง


เมื่อวันที่24ตุลาคม2550ดิฉันได้มีโอกาศเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร เทคนิคการจัดกิจกรรมสำหรับปฐมวัยโดยใช้ทฤษฎีจิตปัญญาเพื่อพัฒนาสมอง โดยศูนย์ส่งเสริมอัจฉริยะภาพการเรียนรู้ ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร วิทยากรที่ให้ความรู้คือ รศ. ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ