วันอาทิตย์ที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

อบรมหลักสูตรการเจรจาไกล่เกลี่ย







ระหว่างวันที่ 11-14ธ.ค 2550 ดิฉันได้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรนักเจรจาไกล่เกลี่ยซึ่งเป็น หลักสูตรที่2 ของโครงการเสริมสร้างสันติวัฒนธรรมในโรงเรียนและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในสถานศึกษา มีครูและผู้บริหารจำนวน50คนจาก18สถานศึกษาทั่วประเทศ (ซึ่งเป็นบุคคลคนเดียวที่ผ่านการอบรมในหลักสูตรที่1)โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ บูรณวิทยา ส่งครูเข้ารับการอบรมจำนวน3คนได้แก่จ.ส.อบุญสม อะละมาลา จ.ส.อนิคม เรืองกูล และ นางรัชนี ค่ายหนองสวง ณ โรงแรมเอส.ดี.อเวนิว กรุงเทพ จัดโดยสำนักสันติและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้าร่วมกับ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา โดยมี ดร. จิราพรรณ บุญเกษมผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ เป็นประธานในพิธีเปิด ต่อจากนั้น มีการบรรยายหัวข้อต่างๆ และการฝึกปฏิบัติจริงดังนี้คือ
* การทบทวนองค์ความรู้ด้านการจัดการความขัดแย้งในสถานศึกษา โดย ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์
* การเจรจาไกล่เกลี่ยในสถานศึกษา กรณีศึกษา โรงเรียนพนมสารคาม (พนมอดุลย์วิทยา)จ.ฉะเชิงเทรา โดย อ.มานิต คงเจริญ
* ทักษะการเจรจาไกล่เกลี่ย โดย ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์
* การไกล่เกลี่ยคนกลาง โดย นายนพพร โพธิรังสิยากร* ขั้นตอนการเจรจาไกล่เกลี่ย โดย นายโชติช่วง ทัพวงศ์
* การฝึกเจรจาไกล่เกลี่ย โดย นายโชติช่วง ทัพวงศ์
* ทักษะในการเจรจาไกล่เกลี่ย โดย ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์และทีมวิทยากร
-การพูด การฟัง การถาม
-การประเมินปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาไกล่เกลี่ย
-แบบฝึกหัดประเมินจุดยืน จุดสนใจ
* การเตรียมตัวเพื่อเจรจาไกล่เกลี่ย โดย ศ. นพ.วันชัย วัฒนศัพท์
* กระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ย โดย ศ. นพ. วันชัย วัฒนศัพท์
* การฝึกปฏิบัติการเจรจาไกล่เกลี่ย (ผู้เข้ารับการอบรมแบ่งกลุ่มเล่นบทบาทสมมุติ)
* บันทึกเทปการเจรจาไกล่เกลี่ย
* การนำเสนอเทปการเจรจาไกล่เกลี่ย
* ประเมินผล โดยศ.นพ. วันชัย วัฒนศัพท์ ,นายนพพร โพธิรังสิยากร , นายโชติช่วง ทัพวงศ์
* สรุปการอบรมและปิดการอบรม โดย ศ. นพ. วันชัย วัฒนศัพท์, นายนพพร โพธิรังสิยากร,นายโชติช่วง ทัพวงศ์




วันพุธที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

ตรวจขั้นที่5








เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2550 ผู้กำกับลูกเสือของโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ บูรณวิทยา จำนวน 8 คน ได้แก่ คุณครูวิชัย ทรัพย์ประเสริฐ, คุณครูรุ่งชัยขาวจุ้ย, คุณครูรัชนี ค่ายหนองสวง, คุณครูสุกิณตนากรุงศรีเมือง, คุณครูชมพูนุช กาบสุวรรณ, คุณครูระวีวรรณ พิมพ์รุน, คุณครูสิริภัทร เกษมวงศ์ และ
คุณครูกนกพร ไร่นาดี ได้เข้ารับการตรวจขั้นที่ 5 (ขั้นปฏิบัติการและประเมินผล) โดยมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ จำนวน 2 ท่านได้แก่ อาจารย์วีระ ฉายขจร และอาจารย์ทันทิตย์ ชอบธรรม เป็นผู้ประเมิน

วันจันทร์ที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐

การอบรมหลักสูตรแนวคิดพื้นฐานการจัดการความขัดแย้งในสถานศึกษา
















ในระหว่างวันที่ 18-20 พ.ย 2550 ดิฉันได้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรแนวคิดพื้นฐานการจัดการความขัดแย้งในสถานศึกษา ซึ่งเป็น หลักสูตรที่1 ของโครงการเสริมสร้างสันติวัฒนธรรมในโรงเรียนและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในสถานศึกษา มีครูและผู้บริหารจำนวน50คนจาก18สถานศึกษาทั่วประเทศ (คัดจาก80สถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ)โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ บูรณวิทยา ส่งครูเข้ารับการอบรมจำนวน3คนได้แก่จ.ส.อบุญสม อะละมาลา จ.ส.อนิคม เรืองกูล และ นางรัชนี ค่ายหนองสวง ณ โรงแรมบางกอก กอล์ฟ สปา รีสอร์ท จ.ปทุมธานี จัดโดยสำนักสันติและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้าร่วมกับ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา โดยมี ดร. อำรุ่ง จันทวนิชเป็นประธานในพิธีเปิด ต่อจากนั้น มีการบรรยายหัวข้อต่างๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่
* ความหมาย ความสำคัญของ การจัดการความขัดแย้งในสถานศึกษา โดย ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์
* กิจกรรมความคาดหวังและความกลัว โดย ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์
* การวิเคราะห์ปัญหา สาเหตุของความขัดแย้งในสถานศึกษา โดย ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์
* การจัดการความขัดแย้ง และความรุนแรงในสถานศึกษา โดย อ.รัตนาภรณ์ วัฒนศัพท์
* กระบวนการแก้ปัญหาความขัดแย้งในสถานศึกษา โดย ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์
* รูปแบบต่างๆของการจัดการความขัดแย้ง โดย ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์
* เครื่องมือในการช่วยให้เกิดความเข้าใจที่ดี โดย ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์
* การเจรจาไกล่เกลี่ย และกระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ย โดย ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์
และการเสวนาเรื่อง รัฐมนตรีในฝัน โดย ผู้เข้ารับการอบรมทั้งหมด
จากการฟังการบรรยาย การจัดการความขัดแย้ง และความรุนแรงในสถานศึกษา ดิฉันมีความเห็นด้วยว่า ครู และผู้ปกครองจำเป็นต้องเข้าใจปัญหา และแนวทางแก้ไข การใช้แนวคิดในเชิงบวก การใช้การแก้ปัญหาโดยให้นักเรียนมีส่วนร่วม ตลอดจนการแก้ปัญหาโดยไม่ใช้ความรุนแรง เช่น การไม่ลงโทษโดยการตีนั้นน่าจะเป็นวิถีทางที่เหมาะสมกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การฝึกให้เด็กได้รู้จักที่จะเจรจาไกล่เกลี่ยกันเองทำให้โรงเรียนนั้นๆเกิดวัฒนธรรมการแก้ปัญหากันเองจนกลายเป็นสันติวัฒนธรรมขึ้น น่าจะช่วยให้เกิดสังคมที่สันติสุข และเกิดสันติภาพได้ในที่สุดหรือแม้แต่ในองค์กรของเราเองถ้าบุคลากรคิดในเชิงบวก ก็น่าจะทำให้เกิด สันติสุข และเกิดสันติภาพในองค์กรได้เช่นเดียวกัน




สันติวัฒนธรรมคืออะไร
สันติวัฒนธรรมคือแบบแผนประเพณีหรือวิถีชีวิตที่ปฏิเสธความรุนแรง แต่เน้นความเอื้ออาทรความเสมอภาคเท่าเทียมกัน และตระหนักถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์
สันติสุข/สันติภาพคืออะไร
คือภาวะที่ปราศจากความรุนแรงทั้งทางกายภาพ ทางวาจา ทางโครงสร้างและทางวัฒนธรรม รวมทั้งสภาวะที่ผู้คนในสังคมปลอดพ้นจากความหวาดกลัว มีความเอื้ออาทรต่อกัน ร่วมมือกัน มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และมีความเชื่อมโยงกันทางจิตใจ ซึ่งทั้งหมดนี้ได้ประกอบเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการจัดการกับความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ในสังคม

วันอังคารที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐

การอบรมทฤษฎีจิตปัญญาเพื่อพัฒนาสมอง


เมื่อวันที่24ตุลาคม2550ดิฉันได้มีโอกาศเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร เทคนิคการจัดกิจกรรมสำหรับปฐมวัยโดยใช้ทฤษฎีจิตปัญญาเพื่อพัฒนาสมอง โดยศูนย์ส่งเสริมอัจฉริยะภาพการเรียนรู้ ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร วิทยากรที่ให้ความรู้คือ รศ. ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ

วันอังคารที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐

ลูกรักเนื่องในวันพ่อ2550


The day that you see me old and I am already not, have patience and try to understand me …
...ถึงวันที่ลูกเห็นพ่อแก่เฒ่า และพ่อยังไม่แก่ ขอจงอดทน และเข้าใจพ่อ...


If I get dirty when eating… if I can not dress… have patience. Remember the hours I spent teaching it to you.
...ถ้าพ่อกินหกเลอะเทอะ ถ้าพ่อใส่เสื้อผ้าเองไม่ได้ จงอดทน นึกถึงสมัยที่พ่อสอนสิ่งเหล่านี้แก่ลูก...



If, when I speak to you, I repeat the same things thousand and one times… do not interrupt me… listen to me.
...ถ้าพ่อพูดเรื่องเดียวซ้ำซาก พันเอ็ดครั้ง อย่าขัดคอขอให้ฟัง ...




When you were small, I had to read to you thousand and one times the same story until you get to sleep…
...เมื่อลูกยังเล็ก พ่อต้องอ่านนิทานเรื่องเดียวซ้ำซากพันเอ็ดเที่ยว กว่าลูกจะหลับ...



... When I do not want to have a shower, neither shame me nor scold me

เมื่อพ่อไม่อยากอาบน้ำ อย่าทำให้พ่อขายหน้า อย่าตวาดพ่อ





Remember when I had to chase you with thousand excuses I invented, in order that you wanted to bath…
ให้นึกถึงวันที่พ่อต้องเสกสรรปั้นแต่งสารพัดเรื่อง กว่าจะเกลี้ยกล่อมลูกให้ยอมไปอาบน้ำ



When you see my ignorance on new technologies… give me the necessary time and not look at me with your mocking smile…
เมื่อเห็นพ่อเงอะงะต่อวิทยาการใหม่ๆ ให้เวลาพ่อหน่อย อย่ายิ้มเยาะพ่อเลย

I taught you how to do so many things… to eat good, to dress well… to confront life…
พ่อสอนลูกหลายเรื่อง... การกินให้ถูก
การแต่งตัวให้เหมาะ... การเผชิญชีวิต...

When at some moment I lose the memory or the thread of our conversation… let me have the necessary time to remember… and if I cannot do it, do not become nervous… as the most important thing is not my conversation but surely to be with you and to have you listening to me…
บางขณะที่พ่อลืม หรือหลงเรื่องที่คุยกันอยู่... ให้เวลาพ่อนึก...
และถ้าพ่อนึกไม่ออก ก็อย่าโกรธเพราะเรื่องที่พูดไม่ได้สำคัญที่สุด
แต่การได้อยู่กับลูก และลูกฟังพ่อ... นี่แหละสำคัญกว่า

If ever I do not want to eat, do not force me. I know well when I need to and when not.
ถ้าพ่อไม่อยากกิน อย่าฝืนใจพ่อ พ่อรู้ดีว่าเมื่อไหร่พ่อต้องกิน เมื่อไหร่ไม่ต้องกิน

When my tired legs do not allow me walk...
เมื่อขาอันเหนื่อยล้าของพ่อ ไม่ยอมเดินเสียแล้ว...


give me your hand… the same way I did when you gave your first steps.
...พยุงพ่อไว้... เหมือนที่พ่อสอนลูกเดินก้าวแรก

And when someday I say to you that I do not want to live any more… that I want to die… do not get angry… some day you will understand…
และวันใดพ่อบอกว่า ไม่อยากอยู่ต่อไปอีกแล้ว... อยากตายเสีย
ก็อย่าโกรธนะลูก... สักวันลูกจะเข้าใจ

Try to understand that my age is not lived but survived.
จงเข้าใจเถอะว่า วัยนี้เหมือนต้นไม้ใกล้ฝั่ง
ไม่หวังงอกเงย เพียงให้ยืนต้นอยู่ได้

Some day you will discover that, despite my mistakes, I always wanted the best thing for you and that I tried to prepare the way for you..
สักวันลูกจะเข้าใจว่า แม้พ่อทำอะไรผิดไปบ้าง
พ่อก็ต้องการให้สิ่งที่ดีที่สุดแก่ลูกเสมอ
และพยายามเตรียมหนทางไว้สำหรับลูก..

You must not feel sad, angry or impotent for seeing me near you. You must be next to me, try to understand me and to help me as I did it when you started living
ลูกอย่ารำคาญ ฉุนเฉียว หรือเอือมระอาที่พ่อมาอยู่ใกล้ ลูกจงอยู่ใกล้พ่อ เข้าใจพ่อ ช่วยพ่ออย่างที่พ่อทำกับลูกเมื่อยังเล็ก

Help me to walk… help me to end my way with love and patience. I will pay you by a smile and by the immense love I have had always for you.
ช่วยพยุงพ่อเดิน ให้พ่อถึงปลายทางด้วยความรักและอดทน
พ่อจะตอบแทนด้วยด้วยรอยยิ้มและความรักอันยิ่งใหญ่ที่พ่อมีให้ลูกเสมอ


พ่อแก่-แม่เฒ่า
พ่อแม่ก็แก่เฒ่า จำจากเจ้าไม่อยู่นาน
จะพบจะพ้องพาน เพียงเสี้ยววารของวันวาน
ใจจริงไม่อยากพราก เพราะยังอยากเห็นลูกหลาน
แต่ชีพมิทนนาน ต้องร้าวรานสลายไป
ขอเถิดถ้าสงสาร อย่ากล่าวขานให้ช้ำใจ
คนแก่ชะแรวัย ผิดเผลอไผลเป็นแน่นอน
ไม่รักก็ไม่ว่า เพียงเมตตาช่วยอาทร
ให้กินและให้นอน คลายทุกข์ผ่อนพอสุขใจ
เมื่อยามเจ้าโกรธขึ้ง ให้นึกถึงเมื่อเยาว์วัย
ร้องไห้ยามป่วยไข้ ได้ใครเล่าเฝ้าปลอบปรน
เฝ้าเลี้ยงจนโตใหญ่ แม้เหนื่อยกายก็ยอมทน
หวังเพียงจะได้ยล เติบโตจนสง่างาม
ขอโทษถ้าทำผิด ขอให้คิดทุกทุกยาม
ใจแท้มีแต่ความ หวังติดตามช่วยอวยชัย
ต้นไม้ที่ใกล้ฝั่ง มีหรือหวังอยู่นานได้
วันหนึ่งคงล้มไป ทิ้งฝั่งไว้ให้วังเวง
อ. สุนทรเกตุ















วันจันทร์ที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐

แฟ้มสะสมงานครู


แฟ้มสะสมงานครู


ของ


นาง รัชนี ค่ายหนองสวง

โรงเรียนกองทัพบกอูปถัมบูรณวิทยา ค่ายบุรฉัตร

ต.เกาะพลับพลา อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000