วันจันทร์ที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐

การอบรมหลักสูตรแนวคิดพื้นฐานการจัดการความขัดแย้งในสถานศึกษา
















ในระหว่างวันที่ 18-20 พ.ย 2550 ดิฉันได้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรแนวคิดพื้นฐานการจัดการความขัดแย้งในสถานศึกษา ซึ่งเป็น หลักสูตรที่1 ของโครงการเสริมสร้างสันติวัฒนธรรมในโรงเรียนและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในสถานศึกษา มีครูและผู้บริหารจำนวน50คนจาก18สถานศึกษาทั่วประเทศ (คัดจาก80สถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ)โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ บูรณวิทยา ส่งครูเข้ารับการอบรมจำนวน3คนได้แก่จ.ส.อบุญสม อะละมาลา จ.ส.อนิคม เรืองกูล และ นางรัชนี ค่ายหนองสวง ณ โรงแรมบางกอก กอล์ฟ สปา รีสอร์ท จ.ปทุมธานี จัดโดยสำนักสันติและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้าร่วมกับ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา โดยมี ดร. อำรุ่ง จันทวนิชเป็นประธานในพิธีเปิด ต่อจากนั้น มีการบรรยายหัวข้อต่างๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่
* ความหมาย ความสำคัญของ การจัดการความขัดแย้งในสถานศึกษา โดย ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์
* กิจกรรมความคาดหวังและความกลัว โดย ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์
* การวิเคราะห์ปัญหา สาเหตุของความขัดแย้งในสถานศึกษา โดย ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์
* การจัดการความขัดแย้ง และความรุนแรงในสถานศึกษา โดย อ.รัตนาภรณ์ วัฒนศัพท์
* กระบวนการแก้ปัญหาความขัดแย้งในสถานศึกษา โดย ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์
* รูปแบบต่างๆของการจัดการความขัดแย้ง โดย ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์
* เครื่องมือในการช่วยให้เกิดความเข้าใจที่ดี โดย ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์
* การเจรจาไกล่เกลี่ย และกระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ย โดย ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์
และการเสวนาเรื่อง รัฐมนตรีในฝัน โดย ผู้เข้ารับการอบรมทั้งหมด
จากการฟังการบรรยาย การจัดการความขัดแย้ง และความรุนแรงในสถานศึกษา ดิฉันมีความเห็นด้วยว่า ครู และผู้ปกครองจำเป็นต้องเข้าใจปัญหา และแนวทางแก้ไข การใช้แนวคิดในเชิงบวก การใช้การแก้ปัญหาโดยให้นักเรียนมีส่วนร่วม ตลอดจนการแก้ปัญหาโดยไม่ใช้ความรุนแรง เช่น การไม่ลงโทษโดยการตีนั้นน่าจะเป็นวิถีทางที่เหมาะสมกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การฝึกให้เด็กได้รู้จักที่จะเจรจาไกล่เกลี่ยกันเองทำให้โรงเรียนนั้นๆเกิดวัฒนธรรมการแก้ปัญหากันเองจนกลายเป็นสันติวัฒนธรรมขึ้น น่าจะช่วยให้เกิดสังคมที่สันติสุข และเกิดสันติภาพได้ในที่สุดหรือแม้แต่ในองค์กรของเราเองถ้าบุคลากรคิดในเชิงบวก ก็น่าจะทำให้เกิด สันติสุข และเกิดสันติภาพในองค์กรได้เช่นเดียวกัน




สันติวัฒนธรรมคืออะไร
สันติวัฒนธรรมคือแบบแผนประเพณีหรือวิถีชีวิตที่ปฏิเสธความรุนแรง แต่เน้นความเอื้ออาทรความเสมอภาคเท่าเทียมกัน และตระหนักถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์
สันติสุข/สันติภาพคืออะไร
คือภาวะที่ปราศจากความรุนแรงทั้งทางกายภาพ ทางวาจา ทางโครงสร้างและทางวัฒนธรรม รวมทั้งสภาวะที่ผู้คนในสังคมปลอดพ้นจากความหวาดกลัว มีความเอื้ออาทรต่อกัน ร่วมมือกัน มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และมีความเชื่อมโยงกันทางจิตใจ ซึ่งทั้งหมดนี้ได้ประกอบเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการจัดการกับความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ในสังคม

ไม่มีความคิดเห็น: